วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บทนำ ที่มาและความสำคัญ

  ที่มาและความสำคัญ
    "เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า ๓๐ ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี สติ ปัญญา และความเพียรซึ่งจะนำไปสู่ ความสุขในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง
     จากแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เป็นที่มาในการจัดโครงงานจิตอาสาขึ้น ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการที่ต้องลงมือปฏิบัติจริง เรียนรู้การใช้ชีวิตแบบพอเพียงอย่างแท้จริง ไม่เพียงเเค่ศึกษาในตำราแต่เป็นการลงพื้นที่เพื่อศึกษาการใช้ชีวิตแบบพอเพียง ซึ่งกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ในการนำไปใช่ในชีวิตประจำวัน กิจกรรมที่เราได้ปฏิบัติมีหลายๆอย่าง เช่น การทำนาแบบไร้สารเคมี ซึ่งการทำนาก็จะแยกออกเป็นการถ้อนกล้ากับการดำนา การทำแปลงผักแบบไร้สารเคมี ซึ่งการปลูกพืชผักสวนครัวและการทำนาก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้อยู่อย่างพอเพียงได้ การฟังธรรม การทำอาหารซึ่งเป็นอาหารมังสวิรัติ ซึ่งจากการทำกิจกรรมดังกล่าวทำให้เข้าใจถึงการใช้ชีวิตแบบพอเพียงมากขึ้น เรียนรู้จักการทำจิตใจให้สงบ การเข้าถึงธรรมมะ และนอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความสามัคคีในกลุ่มมากขึ้น เรียนรู้ถึงการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น รวมถึงยังได้พบกับสังคมใหม่อีกสังคมหนึ่ง ซึ่งเป็นสังคมที่สงบ ไม่มีเรื่องที่ต้องเดือดร้อนใจ เพราะดำรงตนอยู่ในความพอเพียง การใช้ชีวิตอยู่แบบพอมีพอกิน ทำให้คนในชุมชนนี้เป็นบุคคลที่น่าเคารพ น่าเลื่อมใส่ จากการที่ได้ไปสัมผัสกับคนในชุมชนทำให้เกิดความอบอุ่นและยังได้รับความเมตตาจากคนในชุมชน เป็นการทำโครงงานที่สร้างความสุขใจ และให้ความรู้และประโยชน์มากมาย
     "เศรษกิจพอเพียง" ความสามารถในการดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างประมาณตน ตามฐานะ ตามอัตภาพ   และที่สำคัญไม่หลงใหลไปตามกระแสของวัตถุนิยม มีอิสรภาพ เสรีภาพ ไม่พันธนาการอยู่กับสิ่งใด หากเราสามารถปฏิบัติตนให้อยู่บนความพอเพียงได้ จะถือเป็นสิ่งที่ดีต่อตนเอง เพราะ ฉ นั้นเราทุกคนควรเรียนรู้ที่จะอยุูอย่างพอกินและพอใช้
    
      ขั้นตอนการดำเนินการ
1.นัดพบสมาชิกในกลุมเพื่อตกลงเวลาในการทำกิจกรรม
2. ลงเวลาและกิจกรรมที่ต้องการทำ ณ ชุมชนฝึกฝนเศรษกิจพอเพียง 
 3.ลงพื้นที่ทำกิจกรรมต่างๆที่ได้ลงเวลาไว้
 4.นัดพบสมาชิกในกลุ่ม สรุปความรู้ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม
 5.จัดทำไซต์
       ขอบเขตการดำเนินงาน

ศึกษาวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวบ้านชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง

   ระยะเวลาในการดำเนินการ
 23 สิงหาคม 2554 - 10 ตุลาคม 2554

https://sites.google.com/site/porpeng5417/home/bthna


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น